ประวัติความเป็นมา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาในราชการของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์มีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ทรงโปรดการประพาสป่าเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาในวันหนึ่งได้ออกประพาสป่าล่าสัตว์ สมเด็จพระนารายณ์ได้ให้ทหารติดตามในการล่าสัตว์ในครั้งนั้นด้วย ในขณะที่ล่าสัตว์นั้นพระราชธิดาเกิดกระหายน้ำขึ้นมา ทหารออกหาน้ำมาแต่ไม่พบ แต่พบน้ำในรอยเท้าของสิงโต ทหารจึงนำน้ำรอยเท้าของสิงโตมาให้เสวย หลังจากนั้นต่อมา ไม่นานพระราชธิดาทรงตั้งครรภ์ สมเด็จพระนารายณ์จึงให้โหรทำนายว่าพระธิดาทรงตั้งครรภ์ได้อย่างไร โหรได้กราบทูลว่า เกิดจากการเสวยน้ำจากรอยเท้าของสิงโต ต่อพระราชธิดาทรงประสูติพระราชกุมาร พระมหากษัตริย์และข้าราชบริพารต่างก็รักและเอ็นดู สิบปีต่อมามีคนได้ยินเสียงร้องของสิงโตในป่าทุกวัน ทำให้ชาวบ้านเกิดความหวาดกลัว ไม่สามารถออกไปทำมาหากินได้ พระมหากษัตริย์ได้มีประกาศให้ชาวบ้านหรือผู้มีความสามารถ หากผู้ใดสามารถฆ่าสิงโตได้จะพระราชทานรางวัลให้ แต่ไม่มีใครสามารถฆ่าสิงโตได้สำเร็จ พระราชโอรสของพระราชธิดาอาสาออกไปฆ่าสิงโตเอง พระมหากษัตริย์ทรงห้ามไม่ให้ออกไปแต่พระราชโอรสไม่ยอม พระมหากษัตริย์ทรงจนปัญญาที่จะห้ามจึงอนุญาต และทรงให้นำอาวุธต่างๆ มาวางให้เลือกใช้ พระราชนัดดาได้ทรงเลือกเอาแต่กริชเพียงด้ามเดียวเพื่อไปฆ่าสิงโต พระมหากษัตริย์มีรับสั่งให้นำทหารไปมากๆ แต่พระราชนัดดาทรงนำเอาองครักษ์ไปเพียงสองคน เดินทางไปในป่าทางทิศเหนือ พบสิงโตนั่งร้องไห้อยู่ และร้องบอกพระราชนัดดาว่า ตอนนี้ถึงคราวตายแล้ว ตายเพราะมือลูกมัน เมื่อฆ่าสิงโตตายได้ ก็ให้นำหนังมาทำเป็นเชือก เอาหัวไปทิ้งทะเล เอาเท้าทั้ง 4 ไปวางทั้ง 4 มุมของประเทศ พระราชนัดดารับปากแล้ว จึงใช้กริชฆ่าสิงโต ถึงแก่ความตาย และได้ทำตามคำสั่งของสิงโตทุกอย่าง ต่อมาหลายปีได้เกิดอภินิหารในทะเล ปรากฏ ว่า มีช้างขาวงาดำเกิดมาจากทะเล ความรู้ถึงพระราชนัดดา จึงเดินทางไปที่ทะเลและบอกว่า ถ้าอยากอยู่กับพระองค์ให้ขึ้นมาจากทะเล ช้างจึงขึ้นมา พระราชนัดดาจึงนำเชือกหนังของสิงโตมาผูกเท้าช้าง ช้างน้ำเป็นที่โปรดปรานของพระมหากษัตริย์และพระราชนัดดาเป็นอย่างยิ่ง อยู่มาวันหนึ่งช้างเกิดหายไป พระราชนัดดาทรงเสียพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ไม่เป็นอันกินอันนอน พระมหากษัตริย์จึงมีรับสั่งให้ทหารติดตามหาช้างให้พบ ถ้าใครพบและจับช้างได้ จะยกเมืองให้ครึ่งหนึ่ง มีทหารในพระราชวัง 7 คนพี่น้อง ได้อาสาออกติดตามหาช้าง พระราชนัดดารับสั่งว่าถ้าตามไม่พบ จะไม่ให้กลับเมือง จะประหารเสีย พี่น้องทั้ง 7 มี พี่เณร พี่แก้ว พี่อ่อน พี่มอญ จันทร์ทอง อีก 2 คนจำไม่ได้ ( พี่เณรนั้นภายหลังได้ตั้งรกรากอยู่ที่บ้านพิเทน หมู่ที่ 2 ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี มีสุสานอยู่ที่นี่ ) พี่น้องทั้ง 7 ได้ตามช้างมาเรื่อยๆ จากกรุงศรีอยุธยา ลงมาทางใต้ จนถึงเมืองปัตตานี พบรอยเท้าช้างที่นี่ และตามไปเรื่อยๆ จนถึงบ้านน้ำใส ( ปัจจุบันบ้านน้ำใส อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ) พบรอยเท้าช้างที่บ้านน้ำใส ปรากฏว่า น้ำในรอยเท้าช้างมันใสแล้ว จึงสันนิษฐานว่า ช้างนั้นเลยไปนานแล้ว จึงเรียกบ้านนั้นว่าบ้านน้ำใส มาถึงปัจจุบัน ทั้งหมดได้เดินทาง ตามช้างต่อไปจนถึงบ้านเมืองยอน ( ปัจจุบันคือ บ้านลุโบะยิโร อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ) ซึ่งเป็นเวลาค่ำแล้ว บ้านเมืองยอนนั้นเมื่อก่อนพี่เณร ได้เดินทางผ่านมาแล้วจึงเรียกบ้านนั้นว่าบ้านเมืองยอน จนถึงปัจจุบัน รุ่งเช้าวันต่อมาเมื่อกินอาหารเรียบร้อยแล้วจึงเดินทางต่อข้ามภูเขาพิเทน (ภูเขาโต๊ะชูด ) ลงมาในบ้านพิเทน พบรอยช้างอีกบ้านพิเทนในสมัยนั้นมีผู้ปกครองบ้านอยู่ก่อนแล้ว พอพี่เณรและน้องๆ มาถึง ในช่วงนั้นผู้คนยังไม่มาก พี่เณรจึงขอซื้อบ้านนั้นจากผู้ปกครองเดิม เป็นเงิน 3ตำลึงทอง พี่เณรเกิดความท้อแท้ ไม่ตามต่อไป จึงได้ตั้งรกรากอยู่ที่นี่ พี่อ่อนยังได้ตามช้างต่อไปจนถึงน้ำดำ ได้พบช้างกำลังเล่นน้ำอยู่ และได้จับช้างผูกไว้ ทางทิศตะวันออกของบ้านน้ำดำ ที่บ้านโฉลงช้าง ( ที่ผูกช้าง ) ของตำบลน้ำดำในปัจจุบัน และได้หาอาหารให้ช้างกิน พอถึงรุ่งเช้าช้างได้หายอีก และได้ตามต่อไปถึงกลางทุ่งยางแดง บริเวณบ้านแลแวะ หมู่ที่ 2 ตำบลตะโละแมะนาอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน พบรอยเท้า แสดงว่าช้างนั้นได้ผ่านไปนานแล้ว จึงตกลงกันว่าจะไม่ตามต่อไป มีจันทร์ทองและอีกคนที่ตามต่อไป ก็ไม่พบช้างและได้ตั้งรกรากอยู่ที่อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี พี่เณรได้ตั้งรกรากอยู่บ้านพิเทน หมู่ที่ 2 ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี พี่แก้ว พี่อ่อน ได้ตั้งรกรากอยู่ที่ บ้านบือจะ หมู่ที่ 4 ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี ส่วนพี่มอญ ได้ตั้งรกรากอยู่ที่ บ้านน้ำดำ ตำบลน้ำดำ อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ปัจจุบันสุสานพี่เณรอยู่ บ้านพิเทน หมู่ที่ 2 ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี และมีสุสานพี่แก้ว พี่อ่อนอยุ่ บ้านบือจะ หมู่ที่ 4 บลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี พี่เณรได้ปกครองบ้านพิเทน ต่อมาได้เป็นท่านหมื่น ท่านขุน ( ผู้ใหญ่บ้าน กำนันในปัจจุบัน) และนามสกุลของพี่เณรคือ ศรีมาก ปัจจุบันในอำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ยังมีคนใช้นามสกุลศรีมาก
ในสมัยก่อนมีผู้คนมาบนบานถึงพี่เณรเวลาจะทำอะไร หรือขออะไร แต่ในปัจจุบันมีน้อยมาก และในสมัยก่อนในช่วงเดือน 6 จะมีงานประจำปี มีการเข้าทรง การเล่นสีละการเล่นมโนราห์ และผู้คนในพิเทน จะจุดเทียนเป็นกะทา (คล้ายรูปโดม ) ตอนกลางคืนแห่จากหมู่บ้านไปยังสุสานพี่เณร เพื่อเป็นการทำบุญให้แก่พี่เณร แต่ในปัจจุบันไม่ได้ทำพิธีนี้แล้ว
บ้านพิเทนในสมัยก่อนผู้คนพูดกันโดยใช้คำราชาศัพท์ผสมกับภาษาที่พูด สำเนียงที่พูดนั้นเป็นสำเนียงทางภาคใต้ (ภาษาปักษ์ใต้) ในปัจจุบันมีการพูดกันน้อยมาก ส่วนใหญ่ใช้ภาษามลายูท้องถิ่นพูดกันระหว่างที่พี่เณรหรือโต๊ะหยังมีชีวิตนั้น ได้นำเอาเชือกหนังราชสีห์ ( สิงโต ) ระฆัง ตะขอ หอก ปี่ มาไว้ที่บ้านพิเทน หลังจากที่พี่เณรได้เสียชีวิตลง ชาวบ้านได้สร้างโรงเก็บเชือกหนังพระราชสีห์ (สิงโต ) ระฆัง ตะขอ หอก ปี่ ไว้ที่มัสยิดภูเขาน้อย ห่างจากหลุมฝังศพของพี่เณร หรือกูโบร์ไปทางทิศเหนือประมาณ 20 วา ต่อมา ระฆัง ตะขอ หอก ปี่ ไปอยู่ที่ตำบลกะลูบี อำเภอสายบุรี ( ปัจจุบันคืออำเภอกะพ้อ ) จังหวัดปัตตานี คงมีญาติที่เคยรักษาเอาไปเก็บไว้ ส่วนหนังพระราชสีห์ ( สิงโต ) อยู่ที่บ้านพิเทน ( หมู่ที่ 2 ตำบลพิเทน) เดี่ยวนี้ได้หายไปกับระฆังมีปรากฎการณ์พิเศษว่ายามมีแสงแดดอ่อนๆ เชือกหนังพระราชสีห์ ได้คลี่ยาวคล้ายงูเลื้อย ออกผึ่งแดดเอง และขดเข้าที่เก็บตามเดิม จากการสัมภาษณ์ นายดอเลาะ มีสา เรื่องหนังพระราชสีห์ นั้นตรงกับในหนังสือ สมบัติทางใต้ ที่อ้างแล้ว เพราะในสมัยที่ตนยังเด็กนั้นก็มีคนเคยเห็น และบริเวณนี้ชาวบ้านพิเทน เรียกว่าบ้านเชือกช้างและเรียกต่อมาจนถึงปัจจุบันเพราะตั้งชื่อตามหนังพระราชสีห์ ที่ใช้ล่ามช้างนั้นเอง ส่วนระฆังเมื่อผูกคอช้างเชือกอื่นแล้ว คอช้างจะทรุดต่ำลง เพราะทนความหนักของระฆังไม่ได้ พี่เณรหรือโต๊ะหยัง ได้สิ้นชีพไปนานแล้ว แต่ชาวบ้านได้เรียกชื่อ “พี่เณร” ติดปากกันมา เพราะถือว่าเป็นพี่ใหญ่ ต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็น “พิเทน” ซึ่งเป็นชื่อเรียก “ตำบลพิเทน”ในปัจจุบัน
สภาพทั่วไปของอบต.พิเทน ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลพิเทน ตั้งอยู่อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี ห่างจากที่ว่าการอำเภอทุ่งยางแดงไปทางทิศเหนือ ประมาณ 4 กิโลเมตร จำนวนพื้นที่ 42.42 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตอำเภอมายอ
ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตตำบลปากู เขตตำบลน้ำดำ และ เขตตำบล ตะโละแมะนา ของอำเภอทุ่งยางแดง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตอำเภอสายบุรีและอำเภอกะพ้อ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขตอำเภอมายอ
จำนวนบ้านทั้งหมด 1,837 หลังคาเรือน
จำนวนบ้านเเยกตามประเภทบ้าน
ประเภทบ้าน |
จำนวน(หลังคาเรือน) |
บ้าน |
1,591 |
หอพัก |
3 |
สถานที่ราชการ |
1 |
บ้านพักข้าราชการ |
1 |
ทะเบียนบ้านชั่วคราว |
241 |
รวม |
1,847 |
จำนวนหมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบล แบ่งการปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้าน
ตำบล / หมู่บ้าน |
บ้านปกติ |
บ้านรื้อถอน |
รวม |
ตำบลพิเทน |
1,837 |
2 |
1,839 |
หมู่ที่ 1 ข่าลิง |
321 |
0 |
321 |
|
หมู่ที่ 2 พิเทน |
208 |
0 |
208 |
|
หมู่ที่ 3 ป่ามะพร้าว |
267 |
0 |
267 |
|
หมู่ที่ 4 บือจะ |
230 |
0 |
230 |
|
หมู่ที่ 5 บาเเฆะ |
312 |
1 |
313 |
|
หมู่ที่ 6 โต๊ะชูด |
343 |
1 |
344 |
|
หมู่ที่ 7 ดือเบาะ |
156 |
0 |
156 |
|
จำนวนประชากรเเยกตามเพศ
ชาย 4,233 คน หญิง 4,424 คน รวม 8,657 คน ( ณ เดือนกันยายน พ.ศ. 2561)
จำนวนประชากรเเยกตามสถานภาพผู้อาศัย
|
จำนวน(หลังคาเรือน) |
จำนวนผู้อาศัย |
7,184 |
จำนวนเจ้าบ้าน |
1,473 |
จำนวนหัวหน้าครอบครัว |
8,657 |
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรเเยกสถานะของบุคคล
สถานะบุคคล |
ชาย |
หญิง |
รวม |
บุคคลนี้มีภูมิลำเนาอยู่ในบ้านนี้(0) |
4,231 |
4,424 |
8,655 |
บุคคลนี้ถูกจำหน่ายชื่อจากทะเบียนบ้านเนื่องจากตาย(1) |
749 |
583 |
1,332 |
|
บุคคลนี้ถูกจำหน่ายชื่อจากทะเบียนบ้านด้วย ท.ร.97(2) |
17 |
8 |
25 |
|
รายการนี้ถูกจำหน่ายเนื่องจากเปลี่ยนสถานภาพด้วย ท.ร.98 (3) |
0 |
2 |
2 |
|
บุคคลนี้ย้ายไปต่างประเทศ(4) |
0 |
0 |
0 |
|
รายการนี้ถูกจำหน่ายเนื่องจากมีชื่อซ้ำซ้อน(5) |
55 |
47 |
102 |
|
บุคคลนี้ถูกจำหน่ายตามระเบียบข้อ 110 (6) |
0 |
0 |
0 |
|
รายการนี้ถูกจำหน่ายชื่อจากทะเบียนบ้านเเล้ว(7) |
47 |
47 |
94 |
|
บุคคลนี้อยู่ในทะเบียนบ้านกลางห้ามนำเอกสารไปอ้างอิงหรือใช้สิทธิ์ในกรณีต่างๆ(8) |
0 |
0 |
0 |
|
บุคคลนี้เเจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านหลังนี้เเล้ว(9) |
2 |
0 |
2 |
|
รายการนี้ถูกจำหน่ายเเล้วเเละได้เพิ่มชื่อโดยเลขบัตรประจำตัวประชาชนใหม่(10) |
0 |
0 |
0 |
|
บุคคลนี้เเจ้งตายเเล้ว เเต่ยังไม่ได้จำหน่ายออกจากทะเบียนบ้าน(11) |
4 |
4 |
8 |
|
รายการนี้ถูกจำหน่ายกรณีสละสัญชาติไทย(12) |
0 |
0 |
0 |
|
บุคคลนี้สละสัญชาติเเล้วเเละเเจ้งตาย(13) |
0 |
0 |
0 |
|
จำหน่ายบุคคลห้ามเคลื่อนไหวทางการทะเบียน(14) |
0 |
0 |
0 |
|
Caution Sign(15) |
0 |
0 |
0 |
|
เเจ้งเกิดเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนประวัติบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน(16) |
0 |
0 |
0 |
|
เขตการปกครอง
ตำบลพิเทน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้านดังนี้
ตำบล/แขวง |
ชาย |
หญิง |
รวม |
ตำบลพิเทน |
4,233 |
4,424 |
8,657 |
หมู่ที่ 1 บ้านข่าลิง |
598 |
634 |
1,232 |
หมู่ที่ 2 บ้านพิเทน |
475 |
568 |
1,043 |
หมู่ที่ 3 บ้านป่ามะพร้าว |
684 |
655 |
1,339 |
หมู่ที่ 4 บ้านบือจะ |
549 |
560 |
1,109 |
หมู่ที่ 5 บ้านบาแฆะ |
729 |
788 |
1,517 |
หมู่ที่ 6 บ้านโต๊ะชูด |
762 |
768 |
1,530 |
หมู่ที่ 7 บ้านตือเบาะ |
436 |
451 |
887 |
|