สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ประวัติความเป็นมา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาในราชการของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์มีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง
ทรงโปรดการประพาสป่าเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาในวันหนึ่งได้ออกประพาสป่าล่าสัตว์ สมเด็จพระนารายณ์ได้ให้ทหาร
ติดตามในการล่าสัตว์ในครั้งนั้นด้วย ในขณะที่ล่าสัตว์นั้นพระราชธิดาเกิดกระหายน้ำขึ้นมา ทหารออกหาน้ำมาแต่ไม่พบ
แต่พบน้ำในรอยเท้าของสิงโต ทหารจึงนำน้ำรอยเท้าของสิงโตมาให้เสวย หลังจากนั้นต่อมาไม่นานพระราชธิดา
ทรงตั้งครรภ์ สมเด็จพระนารายณ์จึงให้โหรทำนายว่าพระธิดาทรงตั้งครรภ์ได้อย่างไร โหรได้กราบทูลว่าเกิดจาก
การเสวยน้ำจากรอยเท้าของสิงโต ต่อมาพระราชธิดาทรงประสูติพระราชกุมาร พระมหากษัตริย์และข้าราชบริพาร
ต่างก็รักและเอ็นดู
สิบปีต่อมามีคนได้ยินเสียงร้องของสิงโตในป่าทุกวัน ทำให้ชาวบ้านเกิดความหวาดกลัว ไม่สามารถออกไป
ทำมาหากินได้ พระมหากษัตริย์ได้มีประกาศให้ชาวบ้านหรือผู้มีความสามารถ หากผู้ใดสามารถฆ่าสิงโตได้จะพระราชทาน
รางวัลให้ แต่ไม่มีใครสามารถฆ่าสิงโตได้สำเร็จ พระราชโอรสของพระราชธิดาอาสาออกไปฆ่าสิงโตเอง พระมหากษัตริย์
ทรงห้ามไม่ให้ออกไปแต่พระราชโอรสไม่ยอม พระมหากษัตริย์ทรงจนปัญญาที่จะห้ามจึงอนุญาตและทรงให้นำอาวุธต่าง ๆ
มาวางให้เลือกใช้ พระราชนัดดาได้ทรงเลือกเอาแต่กริชเพียงด้ามเดียวเพื่อไปฆ่าสิงโต พระมหากษัตริย์มีรับสั่งให้นำทหาร
ไปมาก ๆ แต่พระราชนัดดาทรงนำเอาองครักษ์ไปเพียงสองคน เดินทางไปในป่าทางทิศเหนือ พบสิงโตนั่งร้องไห้อยู่
และร้องบอกพระราชนัดดาว่า ตอนนี้ถึงคราวตายแล้ว ตายเพราะมือลูกมัน เมื่อฆ่าสิงโตตายได้ ก็ให้นำหนังมาทำเป็นเชือก
เอาหัวไปทิ้งทะเล เอาเท้าทั้ง 4 ไปวางทั้ง 4 มุมของประเทศ พระราชนัดดารับปากแล้ว จึงใช้กริชฆ่าสิงโตถึงแก่ความตาย
และได้ทำตามคำสั่งของสิงโตทุกอย่าง ต่อมาหลายปีได้เกิดอภินิหารในทะเล ปรากฏว่ามีช้างขาวงาดำเกิดมาจากทะเล
ความรู้ถึงพระราชนัดดา จึงเดินทางไปที่ทะเลและบอกว่าถ้าอยากอยู่กับพระองค์ให้ขึ้นมาจากทะเล ช้างจึงขึ้นมา พระราชนัดดา
จึงนำเชือกหนังของสิงโตมาผูกเท้าช้าง ช้างน้ำเป็นที่โปรดปรานของพระมหากษัตริย์และพระราชนัดดาเป็นอย่างยิ่ง
อยู่มาวันหนึ่งช้างเกิดหายไป พระราชนัดดาทรงเสียพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ไม่เป็นอันกินอันนอน พระมหากษัตริย์จึงมีรับสั่งให้
ทหารติดตามหาช้างให้พบ ถ้าใครพบและจับช้างได้จะยกเมืองให้ครึ่งหนึ่ง มีทหารในพระราชวัง 7 คนพี่น้อง ได้อาสาออก
ติดตามหาช้าง พระราชนัดดารับสั่งว่าถ้าตามไม่พบจะไม่ให้กลับเมือง จะประหารเสีย พี่น้องทั้ง 7 มี พี่เณร พี่แก้ว พี่อ่อน
พี่มอญ จันทร์ทอง อีก 2 คนจำไม่ได้ พี่น้องทั้ง 7 ได้ตามช้างมาเรื่อย ๆ จากกรุงศรีอยุธยาลงมาทางใต้จนถึงเมืองปัตตานี
พบรอยเท้าช้างที่นี่ และตามไปเรื่อย ๆ จนถึงบ้านน้ำใส (ปัจจุบันบ้านน้ำใส อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี) พบรอยเท้าช้างที่บ้านน้ำใส ปรากฏว่าน้ำในรอยเท้าช้างมันใสแล้ว จึงสันนิษฐานว่าช้างนั้นเลยไปนานแล้ว จึงเรียกบ้านนั้นว่าบ้านน้ำใส มาถึงปัจจุบัน ทั้งหมดได้เดินทางตามช้างต่อไปจนถึงบ้านเมืองยอน (ปัจจุบันคือ บ้านลุโบะยิโร อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี) ซึ่งเป็นเวลาค่ำแล้ว บ้านเมืองยอนนั้นเมื่อก่อน
พี่เณรได้เดินทางผ่านมาแล้วจึงเรียกบ้านนั้นว่าบ้านเมืองยอน จนถึงปัจจุบัน รุ่งเช้าวันต่อมาเมื่อกินอาหารเรียบร้อยแล้วจึงเดินทางต่อข้ามภูเขาพิเทน (ภูเขาโต๊ะชูด) ลงมาในบ้านพิเทน พบรอยช้างอีก บ้านพิเทนในสมัยนั้นมีผู้ปกครองบ้านอยู่ก่อนแล้ว พอพี่เณรและน้อง ๆ มาถึง ในช่วงนั้นผู้คนยังไม่มาก พี่เณรจึงขอซื้อบ้านนั้นจากผู้ปกครองเดิมเป็นเงิน 3 ตำลึงทอง พี่เณรเกิดความท้อแท้ไม่ตามต่อไป จึงได้ตั้งรกรากอยู่ที่นี่ พี่อ่อนยังได้ตามช้างต่อไปจนถึงน้ำดำได้พบช้างกำลังเล่นน้ำอยู่ และได้จับช้างผูกไว้ทางทิศตะวันออกของบ้านน้ำดำ ที่บ้านโฉลงช้าง (ที่ผูกช้าง) ของตำบลน้ำดำในปัจจุบัน และได้หาอาหารให้ช้างกินพอถึงรุ่งเช้าช้างได้หายอีก และได้ตามต่อไปถึงกลางทุ่งยางแดง บริเวณบ้านแลแวะหมู่ที่ 2 ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน พบรอยเท้าแสดงว่าช้างนั้นได้ผ่านไปนานแล้ว
จึงตกลงกันว่าจะไม่ตามต่อไป มีจันทร์ทองและอีกคนที่ตามต่อไป ก็ไม่พบช้าง และได้ตั้งรกรากอยู่ที่อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี
พี่เณรได้ตั้งรกรากอยู่บ้านพิเทน หมู่ที่ 2 ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี พี่แก้ว พี่อ่อนได้ตั้งรกรากอยู่ที่บ้านบือจะ หมู่ที่ 4 ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี ส่วนพี่มอญ ได้ตั้งรกรากอยู่ที่ บ้านน้ำดำ ตำบลน้ำดำ อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ปัจจุบันสุสานพี่เณรอยู่ บ้านพิเทน หมู่ที่ 2 ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี และมีสุสานพี่แก้ว พี่อ่อนอยู่
บ้านบือจะ หมู่ที่ 4 บลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี พี่เณรได้ปกครองบ้านพิเทน ต่อมาได้เป็นท่านหมื่น ท่านขุน
(ผู้ใหญ่บ้าน กำนันในปัจจุบัน) และนามสกุลของพี่เณร คือ ศรีมาก ปัจจุบันในอำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ยังมีคนใช้นามสกุลศรีมาก
ในสมัยก่อนมีผู้คนมาบนบานถึงพี่เณรเวลาจะทำอะไรหรือขออะไร แต่ในปัจจุบันมีน้อยมากและในสมัยก่อนในช่วงเดือน 6 จะมีงานประจำปี มีการเข้าทรง การเล่นสีละการเล่นมโนราห์ และผู้คนในพิเทนจะจุดเทียนเป็นกะทา (คล้ายรูปโดม) ตอนกลางคืนแห่จากหมู่บ้านไปยังสุสานพี่เณร เพื่อเป็นการทำบุญให้แก่พี่เณร แต่ในปัจจุบันไม่ได้ทำพิธีนี้แล้ว
บ้านพิเทนในสมัยก่อนผู้คนพูดกันโดยใช้คำราชาศัพท์ผสมกับภาษาที่พูด สำเนียงที่พูดนั้นเป็นสำเนียงทางภาคใต้ (ภาษาปักษ์ใต้) ในปัจจุบันมีการพูดกันน้อยมาก ส่วนใหญ่ใช้ภาษามลายูท้องถิ่นพูดกันระหว่างที่พี่เณรหรือโต๊ะหยังมีชีวิตนั้น ได้นำเอาเชือกหนังราชสีห์ (สิงโต) ระฆัง ตะขอ หอก ปี่ มาไว้ที่บ้านพิเทน หลังจากที่พี่เณรได้เสียชีวิตลง ชาวบ้านได้สร้างโรงเก็บเชือกหนังพระราชสีห์ (สิงโต) ระฆัง ตะขอ หอก ปี่ ไว้ที่มัสยิดภูเขาน้อย ห่างจากหลุมฝังศพของพี่เณรหรือกูโบร์ไปทางทิศเหนือประมาณ 20 วา ต่อมา ระฆัง ตะขอ หอก ปี่ ไปอยู่ที่ตำบลกะลูบี อำเภอสายบุรี (ปัจจุบันคืออำเภอกะพ้อ) จังหวัดปัตตานี คงมีญาติที่เคยรักษาเอาไปเก็บไว้ ส่วนหนังพระราชสีห์ (สิงโต) อยู่ที่บ้านพิเทน (หมู่ที่ 2 ตำบลพิเทน) กับระฆัง มีปรากฎการณ์พิเศษว่ายามมีแสงแดดอ่อน ๆ เชือกหนังพระราชสีห์ได้คลี่ยาวคล้ายงูเลื้อย ออกผึ่งแดดเอง และขดเข้าที่เก็บตามเดิม จากการสัมภาษณ์ นายดอเลาะ มีสา เรื่องหนังพระราชสีห์นั้นตรงกับในหนังสือสมบัติทางใต้ที่อ้างแล้ว เพราะในสมัยที่ตนยังเด็กนั้นก็มีคนเคยเห็น และบริเวณนี้ชาวบ้านพิเทน เรียกว่าบ้านเชือกช้าง และเรียกต่อมาจนถึงปัจจุบัน เพราะตั้งชื่อตามหนังพระราชสีห์ที่ใช้ล่ามช้างนั้นเอง ส่วนระฆังเมื่อผูกคอช้างเชือกอื่นแล้ว คอช้างจะทรุดต่ำลง เพราะทนความหนักของระฆังไม่ได้ พี่เณรหรือโต๊ะหยังได้สิ้นชีพไปนานแล้ว แต่ชาวบ้านได้เรียกชื่อ “พี่เณร” ติดปากกันมาเพราะถือว่าเป็นพี่ใหญ่ ต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็น “พิเทน” ซึ่งเป็นชื่อเรียก “ตำบลพิเทน” ในปัจจุบัน
สภาพทั่วไปขององค์การยริหารส่วนตำบลพิเทน
ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลพิเทน ตั้งอยู่อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี ห่างจากที่ว่าการอำเภอทุ่งยางแดงไปทางทิศเหนือ ประมาณ 6.9 กิโลเมตร จำนวนพื้นที่ 42.42 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตอำเภอมายอ
ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตตำบลปากู เขตตำบลน้ำดำ และ เขตตำบลตะโละแมะนา
ของอำเภอทุ่งยางแดง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตอำเภอสายบุรีและอำเภอกะพ้อ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขตอำเภอมายอ
เขตการปกครอง
ตำบลพิเทน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านข่าลิง
หมู่ที่ 2 บ้านพิเทน
หมู่ที่ 3 บ้านป่ามะพร้าว
หมู่ที่ 4 บ้านบือจะ
หมู่ที่ 5 บ้านบาแฆะ
หมู่ที่ 6 บ้านโต๊ะชูด
หมู่ที่ 7 บ้านตือเบาะ
ระยะทางห่างจากจังหวัดปัตตานี 46 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอทุ่งยางแดง 6.9 กิโลเมตร
ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
องค์การบริหารส่วนตำบลพิเทน แบ่งการปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้าน (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564)
หมู่ที่
|
ชื่อบ้าน
|
จำนวนประชากร
|
จำนวนครัวเรือน (หลัง)
|
ชาย (คน)
|
หญิง (คน)
|
รวม (คน)
|
1
|
บ้านข่าลิง
|
632
|
670
|
1,302
|
336
|
2
|
บ้านพิเทน
|
470
|
550
|
1,020
|
217
|
3
|
บ้านป่ามะพร้าว
|
700
|
674
|
1,374
|
280
|
4
|
บ้านบือจะ
|
555
|
549
|
1,104
|
237
|
5
|
บ้านบาแฆะ
|
754
|
805
|
1,559
|
326
|
6
|
บ้านโต๊ะชูด
|
788
|
785
|
1,573
|
355
|
7
|
บ้านตือเบาะ
|
446
|
471
|
917
|
163
|
รวม
|
4,345
|
4,504
|
8,849
|
1,914
|
ประชากร
ประชากรทั้งสิ้น 8,849 คน แยกเป็น ชาย 4,345 คน หญิง 4,504 คน และมีจำนวนบ้านทั้งสิ้น 1,914 ครัวเรือน
(ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564)
ช่วงอายุและจำนวนประชากร
|
ชาย (คน)
|
หญิง (คน)
|
หมายเหตุ
|
จำนวนประชากรเยาวชน
|
1,542
|
1,450
|
อายุต่ำกว่า 18 ปี
|
จำนวนประชากร
|
2,441
|
2,571
|
อายุ 18-60 ปี
|
จำนวนประชากรผู้สูงอายุ
|
362
|
483
|
อายุมากกว่า 60 ปี
|
ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลพิเทนมีพื้นที่ทั้งหมด 42.42 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 63,264 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มสลับภูเขา
มีแม่น้ำลำคลองอยู่โดยทั่วไป พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ในการทำเกษตร
สภาพทางสังคม
1. การศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา สังกัด สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 4 แห่งดังนี้
- โรงเรียนบ้านพิเทน ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2
- โรงเรียนบ้านบือจะ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4
- โรงเรียนบ้านโต๊ะชูด ตั้งอยู่ หมู่ที่ 6
- โรงเรียนบ้านตือเบาะ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 7
โรงเรียนเอกชน ระดับ ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
- โรงเรียนอิสลามประชาสงเคราะห์ ตั้งอยู่ หมู่ 4
2. สาธารณสุข
- ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลพิเทน (สถานีอนามัย) 1 แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 1 แห่ง
การท่องเที่ยว
ตำบลพิเทนมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ดังนี้
- สุสานพี่เณร
- วนอุทยานปราสาทนางผมหอม
- ศูนย์ศิลปาชีพบ้านพิเทน
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก